** กำหนดค่าช่วงของแกน y(อุณหภูมิ) ให้อยู่ในช่วง 20 ถึง 45 องศาเซลเซียส และ กำหนดค่าช่วงของแกน y(ความชื้นสัมพัทธ์) ให้อยู่ในช่วง 40 ถึง 95 เปอร์เซนต์ ทุกกราฟ (ควรดูช่วงของแกนทุกครั้งก่อนอ่านกราฟด้วย)
เราได้เลือกติดตั้ง datalogger ไว้กลับโรงเรือนที่พี่นนท์ได้ทำการเปิดดอกเห็ดนางรมฮังการี ซึ่งมัน...น่ากินมากๆ ไม่เกี่ยว!!
-------------------------------
วัสดุหลังคา : วัสดุซ้อนกัน 3 ชั้น ชั้นล่าง = คา, ชั้นกลาง = พลาสติกกัน uv, ชั้นบน = แสลนล้อมรอบโรงเรือนด้วย : แสลนสีเขียว, ดำ 1 ชั้น และมุ้งถี่กันแมลง
ระบบการให้น้ำ : สายยาง, ชุดหัวพ่นหมอก (4 หัว/ชุด) ทำงานร่วมกับ ชุด Timer (ตั้งเวลาให้น้ำทุก 1 ชั่วโมง เวลากลางวัน ครั้งละ 1-2 นาที)
รายละเอียดอื่น ๆ : การให้น้ำปกติจะใช้ timer แต่ถ้าวันไหนฝนตกเว้นช่วงตอนกลางวันและรู้สึกว่า อากาศในโรงเรือนร้อนเกินไปจะให้น้ำด้วยสายยาง
วันที่ 3 สิงหาคม 2558 : วันนี้ฝนตกมาตั้งแต่ช่วงกลางคืนของวันที่ 2 สิงหา และตอนกลางวันฝนยังตกเป็นช่วงๆ จากการสอบถามพี่นนท์บอกว่า ในวันแรกไม่ได้รดน้ำเพิ่มเลย ฝีมือน้องฝนล้วนๆ สังเกตช่วงไหนที่ความชื้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็คือฝนได้ตกลงมาในช่วงนั้น ตลอดวันนี้ ไม่มีช่วงไหนที่ความชื้นต่ำกว่า 70 เปอร์เซนต์เลย ความชื้นต่ำสุดอยู่ในช่วง 15.57 น. ที่ 70.03%
วันที่ 4 สิงหาคม 2558 : เช่นเดียวกับวันที่ 3 เพียงแต่ปริมาณฝนในเวลากลางวันนั้นลดลงส่งผลให้ความชื้นต่ำสุดของโรงเรือนในวันนี้อยู่ที่ 61.07% เวลา 14.55 น. และวันนี้ยังเป็นฝีมือน้องฝนล้วนๆ อีกเช่นกัน
วันที่ 5 สิงหาคม 2558 : วันนี้แดดเริ่มมาตอนสายๆ วันนี้ฝนไม่ตกเลยตลอดทั้งวัน พี่นนท์บอกกับทางทีมงานว่า วันนี้ได้ทำการรดน้ำด้วยสายยางแล้ว ดังนั้นในกราฟวันนี้ เราจะต้องเห็นช่วงที่ความชื้นภายในโรงเรือนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอ (รดหลายรอบด้วยมือ) ความชื้นต่ำสุดของวันนี้อยู่ที่ 47.48% เวลา 13.41 น.
วันที่ 6 สิงหาคม 2558 : เป็นอีกวันที่ไม่มีน้องฝนมาช่วยรดน้ำ แดดเต็มๆ ครับวันนี้ เมื่อได้เห็นกราฟนี้ในตอนแรกทีม HugHed ตกใจมากว่าพี่นนท์ขยันรดน้ำมาก สอบถามพี่นนท์ปรากฏว่าในวันนี้พี่นนท์ได้ทำการเปิด timer ให้ทำงานแล้ว เราจึงได้เห็นการรักษาระดับความชื้นในโรงเรือนที่ดีมากๆ ทั้งที่เป็นวันที่แดดออกทั้งวันแต่ความชื้นต่ำสุดในโรงเรือนวันนี้อยู่ที่ 62.78% เวลา 13.50 น. ต่างกับวันที่ 5 ที่ใช้สายยางในการรดน้ำในโรงเรือน โดยพี่นนท์ยังบอกเทคนิคดีๆ ในครั้งนี้อีกว่าพี่นนท์ได้ทำการตั้ง timer ให้หัวพ่นหมอกในโรงเรือนทำงานทุกๆ 1 ชั่วโมง ครั้งละ 1-2 นาที ทำให้เราได้เห็นกราฟแบบนี้ครับ
เรียบร้อยกันไปแล้วครับสำหรับโรงเรือนของ "ฟาร์มฟ้าใส" วันสุดท้ายที่ได้ข้อมูล ได้เห็นกราฟความชื้นของโรงเรือนที่ใช้ timer ตั้งเวลาในการให้น้ำ ทำให้ทางทีมงานได้เห็นการให้น้ำที่มีประสิทธิภาพมาก ๆ อีกวิธีหนึ่งครับ ส่วนเจ้า datalogger สามารถอยู่เก็บข้อมูลได้ถึง 123 ชั่วโมง (ประมาณ 5 วัน ในบทความนี้ได้มา 4 วัน มีที่ไม่ได้แสดงอีก ครึ่งวันแรก และครึ่งวันสุดท้าย)
สุดท้ายนี้ทางทีมงาน HugHed ขอขอบคุณ พี่นนท์เจ้าของ ฟาร์มฟ้าใส ที่ได้ให้ความรู้ แนวคิด เทคนิคต่าง ๆ อีกมากมาย ขอบคุณครับ ^__^ ในครั้งหน้าเราจะได้ไปวิเคราะห์โรงเรือนของฟาร์มไหนอีก รอติดตามครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น