สำหรับ
เกษตรกรมือใหม่ หรือใครสนใจศึกษาเรื่องการทำโรงเรือนเพาะเห็ด
หรืออยากจะปรับปรุงโรงเรือน
บทความนี้อาจช่วยตัดสินใจในเรื่องของการเลือกวัสดุที่จะทำโรงเรือนได้นะคะ
^__^"
โรงเรือนหรือสถานที่บ่มเส้นใยและเปิดดอก
ควรเป็นสถานที่ที่สะอาด
สามารถรักษาความชื้นและการถ่ายเทอากาศได้ดี ไม่ร้อน เป็นโรงเรือนขนาดใหญ่ โรงเดียว หรือจะสร้างโรงเรือนเล็กๆ หลายๆ โรงเรือน เป็นแถวตามขนาดของพื้นที่ที่เราอยู่ หรือขึ้นอยู่กับความต้องการของผลผลิต เช่น ขนาดของโรงเรือนที่นิยมสร้าง
คือ
ขนาด 4×6 เมตร, 6×6 เมตร และ 8×20 เมตร
-โรงเรือนขนาด 6×6 เมตร บรรจุก้อนเชื้อได้ประมาณ 10,000-12,000 ก้อน
-โรงเรือนขนาด 8×20 เมตร บรรจุก้อนเชื้อได้ประมาณ 15,000- 18,000 ก้อน
ขนาด 4×6 เมตร, 6×6 เมตร และ 8×20 เมตร
-โรงเรือนขนาด 6×6 เมตร บรรจุก้อนเชื้อได้ประมาณ 10,000-12,000 ก้อน
-โรงเรือนขนาด 8×20 เมตร บรรจุก้อนเชื้อได้ประมาณ 15,000- 18,000 ก้อน
โครงสร้างของโรงเรือน ทำได้ 2 แบบ
1. แบบโรงเรือนชั่วคราว ใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่ถาวร ลงทุนไม่มาก เสาทำด้วยไม้หลังคามุงด้วยจาก หรือหญ้าคา ความสูงของโรงเรือนวัดจากด้านข้างขึ้นไปประมาณ 1.8-2 เมตร หากทำหลังคารูปหน้าจั่ว ควรมีความลาดชันของหลังคาประมาณ 20-30 องศา ฝาอาจจะเป็นจากหญ้าคาหรือวัสดุอื่นๆ ก็ได้ขอเพียงแต่ให้เก็บความชื้นได้ควรจะใช้ผ้าพลาสติกกรุภายในโรงเรือนอีก ชั้นหนึ่ง ควรมีประตูเข้าออกด้านหน้า 1 ประตู ขนาดของประตูควรจะลำเลียงก้อนเชื้อเข้าได้อย่างสะดวกสบาย ควรมีช่องระบายอากาศ เพื่อเปิดระบายอากาศต่อเมื่อมีอากาศเสียเกิดขึ้นภายในโรงเรือน พื้นของโรงเรือนควรจะเป็นพื้นคอนกรีต หรือถมด้วยทรายหยาบ หรือนำอิฐที่หักแตกทุบใส่ได้
ข้อดีของโรงเรือนชั่วคราว คือ วัสดุที่สร้างเป็นพวกวัสดุท้องถิ่น เช่น จากหญ้าคา จึงทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ สามารถใช้งานได้ผลดี
ข้อเสียของโรงเรือนแบบชั่วคราว อายุการใช้งานสั้น คือ 3-4 ปี การดูแลรักษาทำได้ลำบากเกิดการสะสมของเชื้อโรค บางท้องที่อาจมีปัญหาเรื่องแมลงหวี่เข้าไปรบกวน ตอม และวางไข่เป็นตัวหนอนเข้าเจาะกินดอกเห็ดเสียหาย
2. แบบโรงเรือนถาวร เสาคอนกรีตหลังคามุงสังกะสี หรือกระเบื้องลอน เหมาะสำหรับการจะลงทุนเพาะเห็ดระยะยาว สร้างเป็นโรงเรือนถาวร หลังคาให้สูงขึ้น มีท่อน้ำพาดบนหลังคาเพื่อปล่อยน้ำรดลงมาในเวลาที่อุณหภูมิสูงขึ้นมาก เพราะจะมีปัญหาความร้อน หลังคาอาจทำเป็น 2 ชั้น ชั้นในใช้กระเบื้องแผ่นเรียบหรือผ้าพลาสติกแบบสานที่มีรอยเชื่อมติดต่อกัน มิดชิด หลังคาชั้นนอกอาจใช้ฟาง โดยมีช่วงห่างระหว่างหลังคาทั้งสองประมาณ 1.1-1.5 เมตร ความสูงของโรงเรือนด้านข้างประมาณ 3-3.5 เมตร มีความลาดชันของหลังคาประมาณ 20-30 องศา
ข้อดี ของโรงเรือนลักษณะนี้ คือมีความคงทนถาวร อายุการใช้งานได้นาน เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ต้องการทำอาชีพเพาะเห็ดเป็นระยะเวลานานๆ
ข้อเสีย ต้นทุนการผลิตสูง สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก
ชั้นวางก้อนเชื้อเห็ด
จะต้องทำชั้นวางถุงก้อนเชื้อภายในโรงเรือน อาจจะทำเป็นแผงแบบชั้นรูปตัว เอ(A) รูปสามเหลี่ยมทรงสูงแบบแขวนก็ได้ไม่มีแบบตายตัว
1. แบบตัวเอ หรือรูปสามเหลี่ยมทรงสูง
วางก้อนเชื้อทับกัน หันปากถุงออกทางด้านข้างทั้งสองด้าน
แบบนี้ประหยัดเนื้อที่ และประหยัดค่าทำชั้น เหมาะกับโรงเรือนทุกสภาพ
2. แบบเป็นชั้นๆ จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แต่การหมุนเวียนของอากาศค่อนข้างดี ไม่บังทิศทางลม เหมาะกับโรงเรือนที่เป็นอิฐบล็อก
ชั้นวางถุงเห็ดไม้ไผ่แบบตัว เอ (A) |
ชั้นวางถุงเห็ดทำด้วยเหล็กแบบตัว เอ (A)
|
2. แบบเป็นชั้นๆ จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แต่การหมุนเวียนของอากาศค่อนข้างดี ไม่บังทิศทางลม เหมาะกับโรงเรือนที่เป็นอิฐบล็อก
ชั้นวางถุงเห็ดแบบเป็นชั้น ๆ |
ชั้นวางถุงเห็ดแบบเป็นชั้น ๆ |
ขอบคุณที่มา
-ภาพจาก : กลุ่มรักเกษตร ภาพสีชุดเห็ดนางรม สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม
-https://soclaimon.wordpress.com
-http://www.simuang.ac.th/vichakhan/somchai/content_3.html