สวัสดีค่ะ หลังจากที่พวกเราหายหน้าหายตา ไม่ได้อัพบทความมาเป็นเวลาหลายเดือน เนื่องจากทางชุมชนคนรักเห็ดได้ทดลองการบ่มก้อนเห็ดหอม ในห้องระบบ EVAP พร้อมกับทดลองการติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นอัตโนมัติ เพื่อศึกษาการเดินเชื้อของก้อนเห็ดหอมในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งผลการเดินเชื้อในห้อง EVAP
จะเป็นอย่างไร ? ไปติดตามกันเลยค่ะ
การทดลองครั้งนี้เพื่อที่จะศึกษาในเรื่องของ...
- ระบบ EVAP สามารถทำงานในอุณหภูมิ และความชื้น ที่เราตั้งไว้ได้หรือไม่? โดยดูจากการกราฟที่บันทึกได้ในแต่ละวัน
- การเดินเชื้อของเห็ดหอมจะใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ ที่เชื้อจะเดินเต็มก้อน (ก้อนสีขาวเต็มก้อน และก้อนสีน้ำตาลเต็มก้อน) เปรียบเทียบการบ่มก้อนในห้องที่มีการควบคุม และนอกห้องที่ไม่ได้ควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น
จะเป็นอย่างไร ? ไปติดตามกันเลยค่ะ
การทดลองครั้งนี้เพื่อที่จะศึกษาในเรื่องของ...
- ระบบ EVAP สามารถทำงานในอุณหภูมิ และความชื้น ที่เราตั้งไว้ได้หรือไม่? โดยดูจากการกราฟที่บันทึกได้ในแต่ละวัน
- การเดินเชื้อของเห็ดหอมจะใช้ระยะเวลานานเท่าไหร่ ที่เชื้อจะเดินเต็มก้อน (ก้อนสีขาวเต็มก้อน และก้อนสีน้ำตาลเต็มก้อน) เปรียบเทียบการบ่มก้อนในห้องที่มีการควบคุม และนอกห้องที่ไม่ได้ควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น
วิธีการทดลอง
- ก้อนเห็ดหอมพันธุ์เบอร์ 26 จำนวน 500 ก้อน ทำการหยอดเชื้อวันที่ 18 มกราคม 59 และในวันที่ 20 มกราคม 59 นำก้อนมาบ่มในห้องที่มีระบบ EVAP และห้องที่ไม่มีระบบ EVAP
แบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มที่ 1 ก้อนเห็ดหอมจำนวน 480 ก้อน มาบ่มในห้อง EVAP ที่ปิดมืด ขนาดห้อง 3x4 เมตร พร้อมติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น ตั้งให้ระบบ EVAP ทำงานถ้าอุณหภูมิในห้อง สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส และเครื่องสร้างความชื้นจะทำงานเมื่อความชื้นสัมพัทธ์ห้องต่ำกว่า 87%
ในขั้นแรกเราจะมีเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ, ความชื้นสัมพัทธ์ จำนวน 2 ตัว เก็บข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบค่าของอุณหภูมิ, ความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้อง และนอกห้องค่ะ
- ก้อนเห็ดหอมพันธุ์เบอร์ 26 จำนวน 500 ก้อน ทำการหยอดเชื้อวันที่ 18 มกราคม 59 และในวันที่ 20 มกราคม 59 นำก้อนมาบ่มในห้องที่มีระบบ EVAP และห้องที่ไม่มีระบบ EVAP
แบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ
กลุ่มที่ 1 ก้อนเห็ดหอมจำนวน 480 ก้อน มาบ่มในห้อง EVAP ที่ปิดมืด ขนาดห้อง 3x4 เมตร พร้อมติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น ตั้งให้ระบบ EVAP ทำงานถ้าอุณหภูมิในห้อง สูงกว่า 25 องศาเซลเซียส และเครื่องสร้างความชื้นจะทำงานเมื่อความชื้นสัมพัทธ์ห้องต่ำกว่า 87%
ในขั้นแรกเราจะมีเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ, ความชื้นสัมพัทธ์ จำนวน 2 ตัว เก็บข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบค่าของอุณหภูมิ, ความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้อง และนอกห้องค่ะ
ห้องขนาด 3x4 ม. |
แผงรังผึ้ง (Cooling pad) |
ติดตั้งเครื่องควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นสัมพัทธ์ |
ก้อนเห็ดในห้องระบบ EVAP |
-จำนวน 15 ก้อน บ่มในที่มืด ไม่ได้ควบคุมอุณหภูมิ และความชื้น
บ่มในกล่องกระดาษ จำลองการบ่มในที่มืด นอกห้อง |
บ่มในที่มีแสง ข้างนอกห้อง |
เราไปดูผลการทดลองกันเลยค่ะ ^o^
สัปดาห์ที่ 1 (20-26 ม.ค.59)
เครื่องควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นของเรายังไม่พร้อมทำงานค่ะ (แง่ว >o< ) ก้อนเห็ดเลยอยู่ในห้องที่ปิดมืดเฉยๆ ลักษณะของก้อนเห็ดยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงค่ะ
ก้อนเห็ดหอมในห้องระบบ EVAP |
ก้อนเห็ดหอมนอกห้อง |
กราฟแสดงผลการทดลองควบคุมอุณหภูมิในโรงเรือนไม่ให้เกิน 25 องศาเซลเซียส ในโรงเรือน EVAP
จากกราฟจะเห็นได้ว่า เส้นสีแดงแสดงอุณหภูมิในห้อง EVAP ในช่วงกลางวันจะต่ำกว่า อุณหภูมินอกห้องแต่การควบคุมแบบ Threshold นี้มันยังไม่สามารถคุมอุณหภูมิในห้องที่ 25 องศาเซลเซียส ได้อย่างสม่ำเสมอ กราฟเลยตกลงมาเป็นบางช่วง จึงยังต้องมีการแก้ไขระบบควบคุมอุณหภูมิให้นิ่งมากกว่านี้ค่ะ
เป็นยังไงกันบ้างคะ เนื้อหาเข้มข้นเหมือนทำงานวิจัยระดับประเทศกันเลยทีเดียว
อย่างเพิ่งขี้เกียจอ่านกันนะคะ เพราะว่าทางพวกเราตั้งใจที่อยากพัฒนาการทำเห็ดของบ้านเราให้เทียบเท่ากับต่างประเทศ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ยังไงอย่าลืมติดตามอ่านผลการทดลองในสัปดาห์ที่ 3 ได้ต่อในตอนที่ 2 นะคะ ^_^
จากกราฟจะเห็นได้ว่า เส้นสีแดงแสดงอุณหภูมิในห้อง EVAP ในช่วงกลางวันจะต่ำกว่า อุณหภูมินอกห้องแต่การควบคุมแบบ Threshold นี้มันยังไม่สามารถคุมอุณหภูมิในห้องที่ 25 องศาเซลเซียส ได้อย่างสม่ำเสมอ กราฟเลยตกลงมาเป็นบางช่วง จึงยังต้องมีการแก้ไขระบบควบคุมอุณหภูมิให้นิ่งมากกว่านี้ค่ะ
เป็นยังไงกันบ้างคะ เนื้อหาเข้มข้นเหมือนทำงานวิจัยระดับประเทศกันเลยทีเดียว
อย่างเพิ่งขี้เกียจอ่านกันนะคะ เพราะว่าทางพวกเราตั้งใจที่อยากพัฒนาการทำเห็ดของบ้านเราให้เทียบเท่ากับต่างประเทศ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ยังไงอย่าลืมติดตามอ่านผลการทดลองในสัปดาห์ที่ 3 ได้ต่อในตอนที่ 2 นะคะ ^_^
ติดตามครับ มีประโยชน์มากครับ อยากทราบขั้นตอนการติดตั้ง Cooling pad ด้วยครับ ได้ผลอะไรยังไงบ้าง
ตอบลบยินดีค่ะ ยังไงติดตามพวกเราได้ในแฟนเพจ "ชุมชนคนทำเห็ด" https://www.facebook.com/HugHedFarm/ ได้ค่ะ เพราะจะอัพเดทข้อมูลบ่อยกว่าในเวปไซด์ค่ะ ^_^
ลบขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ
ตอบลบอยากสอบถามเกี่ยวกับ cooling pad ว่าซื้อจากที่ไหนและขนาดที่ใช้ในโรงเรือนนี้ราคาประมาณเท่าไหร่ครับ
หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์เลี้ยงไก่ค่ะ
ลบในโรงเรือนนี้ใช้ 3 ก้อนค่ะ กระดาษแต่ละก้อน
ขนาด กว้าง x สูง x หนา = 30 x 180 x 15 (หน่วยเป็นเซนติเมตรค่ะ)
ราคาตอนทีมงานซื้อปลีก ราคาก้อนละประมาณ 650 บาท ค่ะ