มาต่อกันเลยนะครับหลังจากไปนั่งงม code อยู่ 2 วันตอนนี้สามารถใช้ SHT15 วัดความชื้น และอุณหภูมิของอากาศได้แล้ว โดย เป็นเซนเซอร์ที่ผลิตจากบริษัท Sensirion ความสามารถของ SHT15 มีดังนี้ครับ สามารถทำงานที่อุณหภูมิตั้งแต่ -40 ถึง 123.8 องศาเซลเซียส วัดความชื้นสัมพันธ์ได้ตั้งแต่ 0 - 100 เปอร์เซนต์ ความละเอียดของการวัดความชื้นสัมพันธ์อยู่ที่ 0.05 %
ก่อนจะไปเล่นกันก็มาเข้าวิชาการกันสักหน่อย
ระดับความแห้งและความชื้นของอากาศเรียกว่า ความชื้น (humidity) ค่าความชื้นมี 2 แบบ คือ ค่าความชื้นสัมบูรณ์ และค่าความชื้นสัมพัทธ์
มวลของไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศปริมาตรหนึ่งหน่วยเรียกว่า ความชื้นสัมบูรณ์ (absolute humidity) มีหน่วยเป็นมวลของไอน้ำต่อปริมาตรอากาศ (g/m3) ซึ่งก็คือความหนาแน่นของไอน้ำ (vapour density) ในอากาศขณะนั้น
ความชื้นสัมพัทธ์ (อังกฤษ: Relative Humidity - rH) เป็นหน่วยวัดหนึ่งที่นิยมใช้วัดระดับความชื้นในอากาศ มีนิยามคือ อัตราส่วนโดยมวลของไอน้ำในอากาศในขณะหนึ่ง(ที่อุณหภูมิหนึ่ง) ต่อ ไอน้ำสูงสุดที่อากาศ (ที่อุณหภูมินั้น) สามารถแบกรับไว้ได้
ค่าความหนาแน่นของไอน้ำในอากาศคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของความหนาแน่นอิ่มตัวของไอน้ำ ณ อุณหภูมิขณะนั้นเรียกว่า ความชื้นสัมพัทธ์ นั่นคือ
โดยในตอนที่ 3 นี้ จะทำการทดลอง SHT15 ด้วยสภาพอากาศ 2 แบบ (ลองแค่นี้ก่อนนะ)
1. ร้อนแห้ง (มาจากไดร์เป่าผม)
2. ร้อนชื้น (ไอน้ำจากน้ำร้อน)
โดยอุปกรณ์ในการทดลอง มีดังนี้
1. วงจรของเรา+SHT15
2. ไดร์เป่าผม
3. แก้ว+น้ำร้อน
ไดร์เป่าผม |
แก้ว + น้ำร้อน |
วงจรทดลองของ "เครื่องควบคุมความชื้นอัตโนมัติ" |
เริ่มจากการนำ SHT15 ไปอยู่ในสภาพอากาศ ร้อนชื้น(ไอน้ำ) และร้อนแห้ง (อากาศจากไดร์เป่าผม) แล้วสังเกตค่าที่อ่านได้ว่าเป็นไปตามสภาพอากาศหรือไม่
หลังจากการทดลอง พบว่าเมื่อนำ sensor ไปวางไว้เหนือบริเวณแก้วน้ำร้อน ระดับความชื้นสัมพันธ์(%RH) ขึ้นไปสูงถึง 95% และอุณหภูมิอยู่ที่ 32 องศาเซลเซียส และเมื่อ นำไดร์เป่าผม มาเป่าลมผ่าน SHT15 ความชื้นลงไปต่ำถึง 24% อุณหภูมิอยู่ที่ 55 องศาเซลเซียส พบว่าในขณะทดลอง sensor ตอบสนองค่อนข้างไว ให้ความละเอียดที่อาจจะเกินความจำเป็น 555+ สรุปว่า sensor ที่เรามีอยู่ตอนนี้ใช้งานได้ดี
ในขั้นต่อไปเราจะนำไปใส่ในพื้นที่ปิดนั้นก็คือ ตู้ปลา!! เนื่องจากมีน้องที่ทำงานเก่าแนะนำมา ทำให้ตอนแรกที่คิดว่าจะใช้ ULEM ในการเพิ่มความชื้นคงต้องเปลี่ยนไปเป็นหัว ultrasonic ในการสร้างหมอกขึ้นมาก่อน พบกันเร็ว ๆ นี้ครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/ความชื้นสัมพัทธ์
http://www.rmutphysics.com (ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล)