วันพุธที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2559

เมื่อเอา EVAP มาฟีเจอร์ริ่งกับ "เห็ดหอม" ตอนที่ 5

       กลับมาแล้วค่ะ หลังจากหายหน้าหายตาไปพร้อมกับอากาศร้อนในช่วงนี้ ในตอนที่5 นี้มาอัพเดทดูว่าก้อนเห็ดหอมไปถึงไหนกันแล้ว หลังจากผ่านมา 2 เดือน ก้อนเห็ดหอมบางส่วนเชื้อเดินเต็มก้อนแล้วค่ะ ในช่วงสัปดาห์ที่ 9 นี้พวกเรานำเอาเซนเซอร์วัดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มาจับวัดดูว่าในห้อง EVAP อากาศมันถ่ายเทดีมากน้อยแค่ไหน เพราะต้องวางแผนเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงการกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ด ซึ่งช่วงการกระตุ้นให้เกิดดอกเห็ด ห้องต้องมีการถ่ายเทอากาศที่ดี ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยๆ ซึ่งการวัด CO2 จะใช้เซนเซอร์จับวัด และนำผลที่ได้มาทำเป็นกราฟ ผลเป็นยังไงไปดูกันเลยค่ะ

สัปดาห์ที่ 9 (16-22 มี.ค.59)
กลุ่มที่ 1 ภาพถ่ายวันที่ 16 มี.ค. ตัวอย่างก้อนเห็ดหอมที่บ่มในห้อง EVAP จำนวน 11 ก้อน ผลการทดลองเป็นดังนี้ค่ะ


ก้อนที่ 1 เส้นใยเดินเกือบเต็มก้อน วัดความยาวจากขอบด้านล่าง 0.5 นิ้ว

ก้อนที่ 2 เส้นใยเบาบางมีเขตแบ่งในก้อนชัดเจน

ก้อนที่ 3 เส้นใยเดินเบาบางเป็นกลุ่ม วัดความยาวจากขอบด้านล่าง 1.5 นิ้ว


ก้อนที่ 4 เส้นใยเดินเกือบเต็มก้อน

ก้อนที่ 5 เส้นใยเดินเต็มก้อนเริ่มมีจุดสีขาวเล็กๆในก้อน

ก้อนที่ 6 เส้นใยเดินเต็มก้อน


ก้อนที่ 7 เส้นใยเดินเต็มก้อน

ก้อนที่ 8 เส้นใยเดินเต็มก้อน

ก้อนที่ 9 เส้นใยเดินเต็มก้อนสีขาวหนาแน่น

ก้อนที่ 10 เส้นใยเดิยบางเบา
วัดความยาวจากขอบด้านล่าง 1.5 นิ้ว

ก้อนที่ 11 เส้นใยเดินเป็นกลุ่ม

กลุ่มที่ 2 ภาพถ่ายวันที่ 16 มี.ค. ก้อนเห็ดที่บ่มนอกห้อง EVAP จำนวน 2 ก้อน
-ก้อนที่ 12 บ่มในที่มีแสง                                            
-ก้อนที่ 13 บ่มในที่มืด  ผลเป็นดังนี้ค่ะ

ก้อนที่ 12 เส้นใยเดิบางเบา 
วัดความยาวจากขอบด้านล่าง 1นิ้ว


ก้อนที่ 13 เส้นใยบางเบาเดินเป็นกลุ่ม

       ส่วนเรื่องของระบบควบคุมในสัปดาห์นี้ มีเรื่องของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มเติมเข้ามาซึ่งได้ทดลองควบคุม
- อุณหภูมิไม่ให้เกิน 25 ํC
- ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ให้ต่ำกว่า 87%
- EVAP ควบคุมด้วย PID Control
- มีค่า CO2 ให้อ่านแล้วค่ะ (เส้นสีดำ)
++ sensor CO2 ตัวที่ใช้คือ IAQ Core-C Sensing range: 450 – 2000 ppm CO2 equivalents++

จากกราฟจะเห็นว่า 

-CO2 สูงมากในช่วงที่ EVAP หยุดทำงาน จึงแก้ปัญหานี้โดยจะทำการเพิ่มส่วนของโปรแกรมควบคุมการถ่ายเทของอากาศเมื่อ CO2 ถึงค่าที่ตั้งไว้ (Threshold Control)ไม่ให้เกิน 1000 ppm เพื่อทดลองลดระดับ CO2 ค่ะ จะได้กราฟดังภาพข้างล่างนี้ค่ะ 


 

สัปดาห์ที่ 10 (23-29 มี.ค. 59)
กลุ่มที่ 1 ภาพถ่ายวันที่ 23 มี.ค. ตัวอย่างก้อนเห็ดหอมที่บ่มในห้อง EVAP จำนวน 11 ก้อน ผลการทดลองเป็นดังนี้ค่ะ 


ก้อนที่ 1 เส้นใยเดินเกือบเต็มก้อน

ก้อนที่ 2 เส้นใยเดินบางเบา เห็นเส้นแบ่งชัดเจน

ก้อนที่ 3 เส้นใยเดินบางเบาเป็นกลุ่ม วัดความยาวจากขอบด้านล่าง 1.5 นิ้ว



ก้อนที่ 4 เส้นใยสีขาวหนาแน่น

ก้อนที่ 5 เส้นใยสีขาวหนาขึ้น เริ่มเห็นจุดเล็กๆสีขาวในก้อน

ก้อนที่ 6 เส้นใยสีขาวหนาขึ้น


ก้อนที่ 7 เส้นใยสีขาวหนาขึ้นเต็มก้อน

ก้อนที่ 8 เส้นใยสีขาวหนาแน่นขึ้น

ก้อนที่ 9 เส้นใยสีขาวหนาขึ้น มีจุดสีขาวเล็กๆนูนออกมา

ก้อนที่ 10 เส้นใยเดินบางเบาเต้มก้อน

ก้อนที่ 11 เส้นใยเดินเป็นกลุ่ม

กลุ่มที่ 2 ภาพถ่ายวันที่ 23 มี.ค. ก้อนเห็ดที่บ่มนอกห้อง EVAP จำนวน 2 ก้อน
-ก้อนที่ 12 บ่มในที่มีแสง                                            
-ก้อนที่ 13 บ่มในที่มืด  ผลเป็นดังนี้ค่ะ 


ก้อนที่ 12 เส้นใยเดินบางเบาเต็มก้อน

ก้อนที่ 13 เส้นใยเดินบางเบาเต็มก้อน
 

 ส่วนการทดลองควบคุมระบบในสัปดาห์นี้คือ
- อุณหภูมิไม่ให้เกิน 25 ํC
- ความชื้นสัมพัทธ์ไม่ให้ต่ำกว่า 87%
- EVAP ควบคุมด้วย PID Control
- เครื่องสร้างความชื้น(humidifier) ควบคุมด้วย PID Control
- CO2 ไม่ให้เกิน 1000 ppm
        ตัว sensor CO2 เวลากลางคืนเหมือนจะมีปัญหาอ่านค่าเพี้ยน มีการถ่ายอากาศแล้วแต่ CO2 กลับไม่ลด หรือลดน้อยมาก ซึ่งเมื่อ reset เครื่องตอนเช้า แล้วหายเป็น bug ที่ต้องแก้ต่อไป วันที่ 27 มี.ค. เลยลองปิด ระบบควบคุม CO2 เพื่อดูลักษณะของ CO2 ที่เปลี่ยนแปลงใน 1 วันซึ่งผลจากการปิดระบบการถ่ายอากาศ เพื่อลด CO2 ในโรงเรือนเป็นตามกราฟข้างล่างค่ะ

       ผลจากการปิดระบบการถ่ายอากาศ เพื่อลด CO2 ในโรงเรือน...นู้นเลยค่ะ ระดับ CO2 ปลายฟ้าเลยค่ะ - -" ช่วงนี้เลยไม่ค่อยแน่ใจว่าตัวเซนเซอร์ที่วัด CO2 เพี้ยนหรือว่าอาจเป็นเพราะช่วงนี้ก้อนเห็ดเริ่มใช้พลังงานเยอะ เลยทำให้ปล่อย CO2 ออกมามากขึ้นกว่าเดิม เป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขต่อไปค่ะ ยังไงเดี๋ยวจะมาเล่าให้ฟังอีกทีในตอนที่ 6 นะคะ ^_^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พบกับพวกเราบน facebook