วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

การทำ “เครื่องเก็บข้อมูล อุณหภูมิ และความชื้น” (ตอนที่ 2 ใส่สมองให้วงจร)

     มาต่อกันเลยครับ หลังจากตอนที่แล้ว การทำ “เครื่องเก็บข้อมูล อุณหภูมิ และความชื้น” (ตอนที่ 1 รวมร่างวงจร) ได้พักกันไว้ที่ขั้นตอนสุดท้ายคือการรวมร่าง วงจรจนมีหน้าตาเป็นแซนวิช 3 ชั้นกันไปแล้ว

ขั้นแรกในการ ใส่สมองให้วงจร เราก็ต้องมีอุปกรณ์ดังนี้
     1. วงจรที่ประกอบแล้วจาก ตอนที่ 1 ถ้าใครยังไม่มี คลิ๊กตรงนี้ เพื่อทำตามเลยครับ ใครมีแล้วต่อข้อสองเลย
     2. สาย USB type b (บางท่านจะได้แถมมาตอน ซื้อ arduino uno ถ้าไม่ได้แถมให้ใช้สาย usb ของเครื่องปริ้นท์แทนก็ได้ครับ)

เมื่ออุปกรณ์ครบแล้ว ก็เตรียมโปรแกรมกันต่อเลย
     1. โปรแกรมที่ใช้ load ไฟล์ hex ลงบอร์ด arduino ไปโหลดได้โดย คลิ๊กตรงนี้ เลยครับ มองหาโปรแกรมชื่อ xloader ตอนที่เขียนนี้เป็นเวอร์ชั่น 1.00
     2. แล้วก็ไฟล์ .hex ที่ทาง HugHed ทำแจก เพื่อใช้ทำเครื่องเก็บข้อมูล อุณหภูมิ และความชื้น
Download : Datalogger_Free_Version.hex

นำทั้งสองไฟล์ที่ download มาไว้ใน Folder เดียวกันจะได้หน้าตาแบบนี้

เมื่ออุปกรณ์และโปรแกรมพร้อมแล้ว ก็ทำตามขั้นตอนนี้เลยครับ
     1. แตกไฟล์ที่โหลดมาจาก xloader

     2. เมื่อแตกไฟล์แล้วจะได้ ไฟล์ออกมา 6 ไฟล์

     3. เปิดโปรแกรม Xloader

     4. เมื่อเปิดโปรแกรมจะพบหน้าต่างเล็กๆ แบบนี้

     5. ทำการตั้งค่าโปรแกรม โดย

ขั้นที่ 1 ให้กำหนด ไฟล์ .hex ที่ต้องการโหลดลงวงจรของเราในที่นี้คือไฟล์ที่โหลดมาจาก HugHed ชื่อว่า Datalogger_Free_Version.hex  โดยคลิ๊กที่ปุ่ม ...

จากนั้นเลือกไฟล์ ที่ได้ดาวน์โหลดมาแล้ว 

ขั้นที่ 2 เลือก Device ให้เป็น Uno (ATmega328)

ขั้นที่ 3 เลือก COM port ให้ตรงกับ ช่องที่ Arduino อยู่ วิธีการตรวจสอบว่า Arduino อยู่ port ไหน ให้คลิ๊กดูที่ COM port ในขณะที่เรายังไม่ได้ต่อ Arduino Uno เข้ากับคอม จะได้ภาพดังนี้ (ในกรณีที่ไม่ได้ต่ออุปกรณ์อื่นๆ อยู่)
จะสังเกตว่าจะมีเพียง COM1 เท่านั้นที่ปรากฏขึ้น จากนั้นให้เราต่อ Arduino เข้ากับคอม ด้วยสาย usb

เมื่อต่อ Arduino Uno เข้าไปแล้วจะปรากฏ port COM ที่ในครั้งแรกไม่มีในกรณีนี้เป็น COM11 ให้เลือก port ที่ปรากฏขึ้นใหม่นี้ และเติมค่า Baud rate ให้เป็น 119200 

     6. กด Upload 


เมื่อกดอัพโหลดแล้ว ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยกระบวนความ เราได้ทำการใส่สมองให้ กับวงจรของเราแล้ว
หลังจากนี้ก็นำ วงจรของเราไปวัด อุณหภูมิและความชื้นในที่ต่างๆ ได้ ทันที


หากท่านใดพบปัญหาในขั้นตอนใดสามารถสอบถามได้ที่ https://www.facebook.com/HugHedFarm
ตัวอย่างกราฟที่นำข้อมูลไป plot แสดงรายละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พบกับพวกเราบน facebook